การตกผลึก

          สารแต่ละชนิดสามารถละลายในตัวทำละลายได้ต่างกัน ปริมาณของตัวถูกละลายในตัวทำละลาย เรียกว่า ความเข้มข้นของสารละลาย เช่น มีเกลือแกง 10 กรัม ละลายอยู่ในน้ำ 100 ลูกบาสก์เซนติเมตร แสดงว่ามีความเข้มข้นร้อยละ 10

 

 

 

           จากภาพข้างบนถ้าเราเติมเกลือแกงลงไปในน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรเรื่อยๆ จนไม่สามารถละลายได้อีก สารละลายของเกลือแกงขณะนั้น เรียกว่า สารละลายอิ่มตัว ถ้านำสารละลายที่อิ่มตัวนี้ไปต้ม เมื่อใส่เกลือแกงลงไปจะสามารถละลายไดอีก ดังนั้นความสามารถในการละลายจึงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ สารจะละลายที่อุณหภูมิสูงได้ดีกว่าอุณหภูมิต่ำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หากปล่อยให้สารละลายอิ่มตัวมีอุณหภูมิลดลง ตัวถูกละลายจะละลายได้น้อยลง และจะเริ่มแยกตัวออกจากสารละลายในรูปของผลึก ดังนั้นกระบวนการที่ตัวถูกละลายแยกออกจากสารละลายอิ่มตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง เรียกว่า การตกผลึก ผลึกของตัวถูกละลายแต่ละชนิดจะมีรูปร่างเฉพาะตัว และเป็นรูปทรงเรขาคณิต ที่มีลักษณะแตกต่างกันตามชนิดของสาร

 

ผลึกของสารในรูปทรงต่างๆ